ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณพิชญา ซุ่นทรัพย์ นักวางแผนการเงิน CFP ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน BMK Wealth เกี่ยวกับการทำงานของที่ปรึกษาทางการเงิน น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆหลายท่านครับ ตาม Link ด้านล่างเลยครับ
CERTIFIED FINANCIAL PLANNER
CERTIFIED FINANCIAL PLANNER
-
สัมภาษณ์บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุนในด้านที่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงิน
-
สินเชื่อบ้านกับรถยนต์แตกต่างกันอย่างไร?
ผมสรุปไว้ในคลิปนี้ครับ เน้นไปที่เรื่องของการคิดดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน โดยใช้ Excel เทียบให้เห็นแบบชัดเจนเลยครับ
-
CFP Module 2 การวางแผนการลงทุน เรียนอะไรบ้าง?
Module ปราบเซียนครับ
ต้องเรียนอะไรบ้าง ผมสรุปไว้ใน Clip นี้ครับ -
CFP Module 1 เรียนอะไรบ้าง นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?
ผมสรุปไว้ในคลิปด้านล่างนี้ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางนักวางแผนการเงิน CFP ครับ
-
ประโยชน์ของการเป็นนักวางแผนการเงิน CFP ครับ
ผมสรุปไว้ใน Clip นี้ จากประสบการณ์ 12 ปี หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นะครับ
-
รวบรวมวิธีแก้ไขปัญหาหนี้จากธนาคารแห่งประเทศไทย
ปัจจุบันนี้หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยยังคงสูงกว่าระดับที่ควรจะเป็น
ประเด็นเรื่องหนี้สินผมมักจะวิเคราะห์แบ่งเป็น 3 สถานะ คือ- ก่อนเป็นหนี้
- ระหว่างเป็นหนี้ ผ่อนชำระตามปกติ
- มีปัญหาผ่อนชำระหนี้
ในโพสนี้ ผมขอรวบรวม คำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทย เน้นไปที่ การแก้ปัญหาผ่อนชำระหนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลครับ
- เขียนจดหมายยังไงให้เจ้าหนี้ยอมช่วย link
- การปรับโครงสร้างหนี้ link
- ขอปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน...ที่เหมาะกับเรา link
- การแก้ไขหนี้ส่วนบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด link
- การแก้ไขหนี้บ้าน link
- การแก้ไขหนี้เช่าซื้อ link
หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารหนี้สินในด้านอื่นๆ สามารถเข้าไปที่ link ได้ครับ
-
RE: การลงทุนในประเทศอาเซียน
@Bananaheadteam ผมไม่มีความรู้พอครับ ต้องขอเชิญ @bonthr @phongthorn @Tom89 @tiantayach และผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ขอบคุณครับ
-
4 เสาหลักเพื่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืน
4 เสาหลักเพื่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืน
ผมได้มีโอกาสศึกษาเรื่องการเงินส่วนบุคคลมายาวนานกว่า 15 ปี อ่านหนังสือทั้งภาษาไทยและอังกฤษที่เกี่ยวข้องร่วม 100 เล่ม ผ่านประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรม ประกัน ลงทุน และการวางแผนการเงิน ทั้งในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ วิทยากร ผู้ประกอบการ
ได้เรียนรู้หลายแนวคิดที่คนนิยมกัน เช่น การมีอิสรภาพทางการเงิน การวางแผนเกษียณเพื่อให้มีความสุขในบั้นปลายชีวิต การใช้กลยุทธ์ลงทุนพยายามเอาชนะตลาด การเริ่มต้นกิจการใหม่เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว
ได้พบว่าแต่ละแนวคิดมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่ก็มีเป้าหมายที่สอดคล้องกันคือการสร้างและรักษาความมั่งคั่งให้อยู่อย่างยั่งยืน
ผมจึงพยายามเรียบเรียงองค์ประกอบสำคัญเพื่อสรุปเป็นหลักการให้กับผู้ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ โดยต้องการให้เป็นมุมมองของคนทั่วๆไป ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญ หรือ อาจารย์ มุ่งหวังให้ง่ายต่อความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้สำหรับคนทุกระดับ ด้วยการวิเคราะห์ค้นหาแนวทางที่เหมาะสมกับแต่ละคน
4 เสาหลักเพื่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืน (4 Pillars of Sustainable Wealth) ประกอบไปด้วย- การบริหาร รายรับรายจ่าย
- การบริหาร ทรัพย์สิน
- การบริหาร หนี้สิน
- การบริหาร ความเสี่ยง
ซึ่งทั้ง 4 เสาหลัก ต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เริ่มจาก เสาหลักที่ 1 ด้วยการคิดแบบง่ายๆว่า หากในช่วงเวลาหนึ่ง รายรับมากกว่ารายจ่าย ย่อมหมายถึง การมีเสาหลักที่ 1 ที่แข็งแรง ซึ่งเมื่อนำรายรับหักออกด้วยรายจ่าย ส่วนที่เหลือก็จะกลายเป็น ทรัพย์สิน ที่สามารถนำมาใช้จ่ายได้ในอนาคตหรือส่งต่อให้คนอื่นได้ตามที่ต้องการ
นำไปสู่ เสาหลักที่ 2 คือการบริหารทรัพย์สิน ที่เกี่ยวข้องกับ การเลือกรูปแบบของทรัพย์สินที่จะเป็นประโยชน์ตามที่ต้องการในอนาคต ซึ่งการลงทุนที่หลายๆคนให้ความสำคัญนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการบริหารทรัพย์สิน เสาหลักที่ 2 ที่แข็งแรงจึงหมายถึง การบริหารจัดการทรัพย์สินให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการในอนาคต
อย่างไรก็ตาม หากมีช่วงเวลาที่ รายรับน้อยกว่ารายจ่าย (เสาหลักที่ 1 ไม่แข็งแรงเท่าที่ควรในช่วงนั้น) จำเป็นต้องนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาใช้จ่ายแทน (เสาหลักที่ 2 มาช่วยค้ำจุน) หรือ อีกทางเลือกหนึ่งคือการเป็นหนี้ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายล่วงหน้าไปก่อน
ทำให้เกิดเสาหลักที่ 3 คือการบริหารหนี้สิน ที่ต้องตระหนักว่าการสร้างหนี้แม้จะมีประโยชน์ในการนำมาใช้จ่ายเฉพาะหน้า หมายถึงว่าในอนาคตย่อมต้องมีช่วงเวลาที่มีรายรับมากกว่ารายจ่ายเพื่อให้มีเงินเหลือไปใช้หนี้
ทั้ง 3 เสาหลักนั้น มีปัจจัยที่สำคัญมากมาเกี่ยวข้อง คือ เวลา (สังเกตว่าเรามีการพูดถึงช่วงเวลากันเสมอ) เพราะ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบของ ทั้ง 3 เสาหลัก อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนอยู่ เช่น
• รายรับ อาจจะเพิ่มขึ้นจากการเติบโต เปลี่ยนแปลง ทางการงาน หรืออาจจะขึ้นลงบางช่วงจากภาวะเศรษฐกิจและอาจจะมีรายจ่ายก้อนใหญ่ที่จำเป็นอย่างไม่คาดฝัน
• มูลค่าทรัพย์สินอาจจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างที่คาดไม่ถึง
• มูลค่าหนี้สิน มีโอกาสลดลงจากการชำระหนี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็เป็นได้ หรืออาจจะต้องมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีกด้วยความจำเป็นเสาหลักที่ 4 คือการบริหารจัดการความไม่แน่นอนต่างๆ เหล่านี้ให้มีผลกระทบต่อความแข็งแรงของเสาหลักทั้ง 3 น้อยที่สุด ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน เช่น พยายามทำให้รายรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตรียมพร้อมสำหรับรายจ่ายที่ไม่คาดฝัน จัดสรรทรัพย์สินให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามที่คาดไว้ รีบชำระคืนหนี้ให้รวดเร็ว ไม่ก่อหนี้เพิ่มหากไม่จำเป็นจริงๆ เป็นต้น
แน่นอนว่า รายละเอียดของ 4 เสาหลัก ของแต่ละคน ย่อมแตกต่างกันไป เปรียบเสมือนความต้องการสร้างบ้านที่ไม่เหมือนกันบนเสาหลักทั้ง 4 ต้นนี้ ยกตัวอย่าง เช่น หลักการของผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการเงิน ที่หลายๆคนเคยได้ยิน คือ
- พยายามทำให้รายรับมากกว่ารายจ่าย ตลอดเวลา ด้วยการขยันทำงาน เพิ่มรายรับ ประหยัดค่าใช้จ่าย
- เมื่อมีเงินเหลือ นำไปเก็บออมหรือเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินที่สามารถเข้าใจได้ ไม่จำเป็นต้องหาทรัพย์สินลงทุนที่ซับซ้อน
- ไม่พยายามสร้างหนี้หากไม่จำเป็น เมื่อต้องการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ เช่น ซื้อของชิ้นใหญ่ จะพยายามเก็บออมจากรายรับที่มากกว่ารายจ่ายก่อน แล้วจึงนำเงินไปซื้อ
- บริหารความเสี่ยงด้วยการ เก็บออมในบัญชีเงินฝาก ให้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นทีละน้อย แต่แน่นอน เพื่อให้มั่นใจ ว่าในช่วงที่ไม่มีรายรับหรือมีรายรับที่น้อยลงแล้ว จะมีทรัพย์สินที่นำมาใช้เพียงพอ ไปจนสิ้นอายุขัย และยังมีโอกาสส่งต่อให้ทายาทอีกด้วย
ตัวอย่างแรกนี้แม้จะมีลักษณะไม่ซับซ้อน แต่ในการปฏิบัติจริงต้องใช้ความพยายามและระเบียบวินัยอย่างมาก จนกระทั่งมีหลายคนคิดว่า ไม่เหมาะกับตนเองหรือสถานการณ์ในปัจจุบัน ตัวอย่างนี้เปรียบเสมือนเป็นการสร้างบ้านที่อาจจะไม่ใหญ่โต แต่ก็มีความมั่นคง และก็อยู่ได้สบาย
เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ขอยกตัวอย่างที่ 2 ซึ่งอาจจะจินตนาการได้ว่าเป็นรุ่นลูกของบุคคลในตัวอย่างแรก
- มีช่วงเวลาที่รายจ่ายมากกว่ารายรับ เป็นเวลาที่ยาวนาน ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยทำงานโดยไม่เดือดร้อนนัก เนื่องจากมีทรัพย์สินจากรุ่นพ่อแม่จุนเจือนำมาใช้จ่ายได้ สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทำงานและมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- เริ่มต้นจากการมีทรัพย์สินในรูปแบบของความสามารถ ความรู้ การศึกษา ที่ได้รับการส่งเสริมจากพ่อแม่ ส่วนทรัพย์สินอื่นที่สร้างเพิ่มเติมด้วยตนเองมาจากช่วงที่รายรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากพื้นฐานการศึกษาและโอกาสที่มากกว่ารุ่นพ่อแม่
- มีการสร้างหนี้อย่างต่อเนื่องเนื่องจากความคุ้นเคยกับการใช้จ่ายที่มากกว่ารายรับ ตั้งแต่ในช่วงที่ตนเองยังไม่มีรายรับที่มากพอ โดยคาดหวังว่า จะมีรายรับที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต มาชำระหนี้สินได้
- บริหารความไม่แน่นอนด้วยการพยายามเพิ่มเติมความสามารถตนเอง เพื่อสร้างโอกาสให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นตามที่คาดหวัง พยายามไม่ให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นเร็วเท่ารายรับ พิจารณาทางเลือกการบริหารทรัพย์สินให้มีโอกาสเพิ่มมูลค่า ให้เพียงพอกับความต้องการใช้จ่ายในอนาคต แม้ต้องเผชิญความไม่แน่นอนจากการลงทุน ก็พยายามเพิ่มความรู้ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ผนวกกับทรัพย์สินที่คงเหลือมาจากรุ่นพ่อแม่ ที่สามารถนำมาบริหารจัดการได้ในช่วงที่ความไม่แน่นอนเกิดขึ้น มีการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยง เช่น การทำประกัน เพื่อลดความกังวลกับรายจ่ายที่ไม่แน่นอนในอนาคต
ตัวอย่างที่ 2 อาจเปรียบเทียบได้กับการสร้างบ้านที่ทันสมัย โดดเด่น น่าสนใจ บนเสาหลักที่ค่อยๆแข็งแรงขึ้นจากรากฐานที่ค่อนข้างดี ด้วยการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ความสามารถและประสบการณ์ ที่สูงของผู้ที่ออกแบบและก่อสร้าง
ผมเชื่อว่าทุกคนต่างสามารถสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนได้ ตามลักษณะที่เฉพาะตัวที่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความต้องการและองค์ประกอบที่มีอยู่ ด้วยความเข้าใจถึงความสำคัญของทั้ง 4 เสาหลัก การวิเคราะห์ว่าแต่ละเสาหลักมีโครงสร้างที่มั่นคงเพียงใด ต้องทำอย่างไรเพื่อเสริมความแข็งแรง เพื่อสร้างบ้านที่สวยงาม น่าอยู่ มั่นคง ปลอดภัย ถูกใจเจ้าของให้มากที่สุดครับ
-
ความเครียดทางการเงินในที่ทำงาน
ผลการสำรวจสุขภาพทางการเงินของพนักงานในองค์กรโดย PwC เมื่อปี 2023 ที่ผ่านมา จากพนักงานประจำ 3,638 คน ในประเทศอเมริกา พบว่ามีพนักงานถึง 60% ที่ต้องเผชิญกับความเครียดทางการเงิน ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่มีรายได้เกิน 100,000 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อปี) ที่เกือบครึ่งหนึ่ง (47%) ก็ยังกังวลในเรื่องการเงินเช่นเดียวกัน
ผลกระทบของความเครียดนี้ส่งผลต่อสุขภาพจิต การนอนหลับ และความมั่นใจในตนเอง แม้นายจ้างจะมีผู้ให้บริการวางแผนการเกษียณอายุให้คำแนะนำ พนักงานยังต้องการที่จะได้รับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาทางการเงินที่เป็นกลางและไม่เกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์หรือแผนการเกษียณอายุของบริษัท
ความเครียดทางการเงินไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาส่วนตัว แต่ยังส่งผลกระทบต่อสถานที่ทำงาน พนักงานที่มีความกังวลทางการเงินมักจะหลุดโฟกัสจากการทำงานมากขึ้น นำไปสู่การมีส่วนร่วมและผลผลิตในการทำงานที่ลดลง
หนึ่งในสามของพนักงานยอมรับว่าความกังวลเรื่องเงินได้ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขา พนักงานที่มีความเครียดทางการเงินมีโอกาสสูงมากกว่าปกติถึง 5 เท่า ที่จะถูกรบกวนจากปัญหาทางการเงินส่วนตัวในขณะทำงาน ซึ่งในจำนวนนี้มีมากถึง 56% ที่ใช้เวลาสามชั่วโมงหรือมากกว่าต่อสัปดาห์ในช่วงเวลาทำงานจัดการหรือคิดเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินส่วนตัว ส่งผลให้มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่รู้สึกกระตือรือร้นในขณะทำงาน
แต่ยังมีข้อดีที่พบว่าส่วนใหญ่ของพนักงานกำลังมองหาคำแนะนำทางการเงินอย่างจริงจัง ประมาณ 74% มองหาคำปรึกษาเมื่อเผชิญกับการตัดสินใจทางการเงิน โดยมี 68% ที่ใช้บริการ โค้ชชิ่ง สัมมนา และเครื่องมือออนไลน์ที่นายจ้างให้บริการ
แม้ว่าข้อมูลนี้จะเป็นของพนักงานในประเทศอเมริกาเท่านั้น แต่ก็สะท้อนให้เห็นผลกระทบของความเครียดทางการเงินต่อสุขภาพและชีวิตการทำงานของพนักงาน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ได้ตระหนักถึงแนวทางที่จะดูแลพนักงานให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
เพื่อนๆ คิดว่าสอดคล้องกับบ้านเราหรือเปล่าครับ?
ข้อมูลจาก link นี้